Packing กับ Packaging

การใช้งาน Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร ? เป็นสิ่งที่หลายคนในปัจจุบันนี้ให้ความสนใจ ซึ่งต้องบอกเลยว่า Packing กับ Packaging เป็นส่วนที่มีความสำคัญในการช่วยจัดการสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงมือของผู้บริโภค และแม้ว่าทั้งสองคำนี้จะดูเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วมีบทบาทและหน้าที่ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

บทความนี้ All Print OK จะพาไปทำความรู้จักกับความแตกต่างของ Packing กับ Packaging ให้มากขึ้น ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท และมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

รู้จัก Packing กับ Packaging คืออะไร ? 

Packing คืออะไร ?

แพคกิ้ง (Packing) คือ กระบวนการบรรจุสินค้าเพื่อจัดเก็บหรือเตรียมการขนส่ง ซึ่งจะเก็บเอาไว้ในกล่องหรือลังเพื่อสต๊อกสินค้าที่ใช้สำหรับการขนส่ง 

โดยแพคกิ้งจะเน้นความปลอดภัยของสินค้า และการป้องกันความเสียหายเป็นหลักครับ มักมีรูปลักษณ์ภายนอกไม่ค่อยสวยงาม แต่เน้นความแข็งแรง ทนทาน เพื่อรักษาสภาพของสินค้าระหว่างการขนส่งและจัดเก็บเป็นหลัก

แพคกิ้ง Packing
แพคกิ้ง (Packing)

Packaging  คืออะไร ?

แพคเกจจิ้ง (Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าที่บรรจุเกิดความเสียหาย ซึ่งมีวัสดุหลายประเภท เช่น พลาสติก กระดาษ แก้ว ไม้ โลหะ ฯลฯ 

นอกจากนี้ ยังต้องมีการออกแบบ Design Pakaging ที่โดดเด่น สวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า และช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงมีแพคเกจจิ้งที่เป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนย้าย สบายต่อการหอบหิ้วด้วยครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : Packaging Design คืออะไร ควรออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างไร ให้ออกมาดูดีมากที่สุด

แพคเกจจิ้ง Packaging
แพคเกจจิ้ง (Packaging)

ความแตกต่าง Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร ?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร ? ซึ่งต้องบอกเลยว่ามีความแตกต่างกันพอสมควร เนื่องจาก Packing เป็นการจัดเตรียมสินค้าให้พร้อมสำหรับการขนส่งหรือเก็บรักษา โดยจะเน้นไปที่การป้องกันความเสียหายและความปลอดภัย สะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายเป็นหลัก 

แต่ Packaging เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยจะเน้นไปที่ภาพลักษณ์ ความน่าสนใจและการใช้งานเป็นหลัก เช่น การออกแบบกล่องสินค้า โลโก้แบรนด์ ฯลฯ

ประเภทของ Packing กับ Packaging

ประเภท Packing มีอะไรบ้าง ?

  • กล่องกระดาษ (Carton)

สำหรับกล่องกระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างต่ำ และสะดวกต่อการขนย้าย ซึ่งสามารถรองรับสินค้าที่มีน้ำหนักได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ๆ โดยเหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้าที่ไม่เกิดความเสียหายง่าย ไม่จำเป็นต้องป้องกันการแตกหัก

  • ลังไม้แบบโปร่ง (Case)

สำหรับลังไม้แบบโปร่ง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีโครงสร้างเป็นเพียงโครงไม้แบบโปร่งเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการทิ่มแทงจากวัตถุภายนอกได้ มักใช้ในการขนส่งหรือจัดเก็บสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก เหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักสูง เช่น หิน เครื่องจักร

  • ลังไม้ทึบ (Crate)

ลังไม้ทึบ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งสามารถป้องกันการกระแทกได้แบบรอบทิศทาง รับน้ำหนักได้ปริมาณมาก โดยลังไม้ทึบจะใช้สำหรับการขนส่งและการจัดเก็บสินค้า ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เหมาะบรรจุสินค้าที่มีความเปราะบางหรือมีโอกาสเกิดความเสียหายขึ้นสูง

  • พาเลทไม้ (Pallet)

สำหรับพาเลทไม้ มักใช้เป็นฐานรองเลื่อนที่ใช้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น เพื่อความสะดวกสบายในการขนส่ง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการขนย้ายได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถขนย้ายพร้อมกับสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในได้เลย แถมยังช่วยทำให้จัดเรียงสินค้าได้อย่างมีระเบียบด้วย 

Packing พาเลทไม้ Pallet
พาเลทไม้

ประเภท Packaging มีอะไรบ้าง ?

  • กระดาษ

สำหรับ Packaging แบบกระดาษ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักเบา เช่น อาหารแห้ง ของขวัญ ขนมปัง เครื่องสำอาง ของใช้ในครัวเรือน หรือสินค้าที่ต้องการความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ข้อดี : สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและรีไซเคิล มีน้ำหนักเบา สามารถพิมพ์ลวดลายได้ง่าย มีราคาถูกและผลิตได้ง่าย

ข้อจำกัด : ไม่เหมาะกับสินค้าที่ต้องการการป้องกันแรงกระแทกสูง และไม่ทนต่อความชื้นหรือของเหลว

  • ซองฟอยล์ / ถุงฟอยด์

การผลิตซองฟอยล์ / ถุงฟอยด์ เหมาะกับอาหารที่ต้องการเก็บรักษาความสด เช่น อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว กาแฟ หรือสินค้าที่ต้องการป้องกันแสง อากาศ ความชื้น 

ข้อดี : น้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนส่ง สามารถป้องกันอากาศ ความชื้นและแสงได้ดี ช่วยเก็บรักษาสินค้าให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น

ข้อจำกัด : ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ยาก เนื่องจากเป็นวัสดุผสมระหว่างฟอยล์กับพลาสติก

Packaging ซองฟอยล์ ถุงฟอยล์
แก้วบรรจุภัณฑ์
  • พลาสติก

เหมาะกับสินค้าที่ต้องการป้องกันความชื้น เช่น น้ำดื่ม อาหารสด หรือสินค้าที่ต้องการการป้องกันเป็นพิเศษ เช่น ยา เครื่องใช้ไฟฟ้า

ข้อดี : แข็งแรง ทนทาน สามารถป้องกันความชื้นและการกระแทกได้เป็นอย่างดี มีน้ำหนักเบา 

ข้อจำกัด : ไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความทนต่อความร้อน ใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาแพงกว่ากระดาษ

  • โลหะ

โลหะ เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความทนทานและความปลอดภัยสูง เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม หรืออาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป น้ำผลไม้ น้ำอัดลม 

ข้อดี : แข็งแรง ทนทาน สามารถป้องกันแรงกระแทก อากาศและความชื้นได้ดี นำมารีไซเคิลได้ง่าย

ข้อจำกัด : ต้นทุนการผลิตสูง น้ำหนักมาก การขนส่งและจัดเก็บยุ่งยาก

  • แก้ว

แก้ว เหมาะกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  และผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความหรูหรา เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม

ข้อดี : ทนทาน ป้องกันการปนเปื้อน สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้แบบไม่จำกัด

ข้อจำกัด : น้ำหนักมาก แตกง่าย มีต้นทุนในการผลิตและขนส่งสูง

การใช้งานของ Packing กับ Packaging

ลักษณะการใช้งาน Packing 

สำหรับลักษณะการใช้งานของ Packing จะเน้นไปที่การป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้าเป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระแทก การตกหล่น หรือเกิดแรงกดทับจนทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย

เช่น ใช้ฟิล์ม โฟม แผ่นกันกระแทก หรือใช้พาเลท ลังไม้สำหรับสินค้าที่ต้องการจัดเก็บจำนวนมาก เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย

ลักษณะการใช้งาน Packaging

ลักษณะการใช้งาน Packaging จะต้องห่อหุ้มสินค้าเอาไว้โดยตรง เพื่อป้องกันความชื้น และคงคุณภาพของสินค้าภายในเอาไว้ไม่ให้สูญเสียก่อนถึงเวลา 

ซึ่งอาจเป็นในลักษณะของบรรจุขวดแก้ว พลาสติก กระป๋อง ซองกระดาษหรือถุงฟอยล์ โดยบนบรรจุภัณฑ์จะต้องมีการแสดงข้อมูลสินค้าอย่างครบถ้วน เช่น ส่วนประกอบ วิธีการใช้ วันหมดอายุ ฯลฯ

ราคา Packing กับ Packaging ต่างกันไหม ?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าราคา Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร ? ซึ่งต้องบอกเลยว่ามีความต่างกันแน่นอนครับ

โดยราคาของ Packaging มักจะสูงกว่า Packing เพราะต้องคำนึงถึงความสวยงาม และการใช้งานในเชิงการตลาด ต่างกัน Packing ที่จะเน้นการใช้งานที่จำเป็นเท่านั้น

สรุปเรื่องความแตกต่าง Packing กับ Packaging

จะเห็นได้ว่า Packing กับ Packaging ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก โดย Packing จะเน้นความปลอดภัยของสินค้าเป็นหลัก ส่วน Packaging จะทำหน้าป้องกันสินค้าภายในที่บรรจุลงไปไม่ให้เกิดความเสียหาย มักออกแบบให้มีประโยชน์ต่อการหอบหิ้วหรือพกพา

สอบถามข้อมูลผลิต Packaging

รับผลิตซองฟอยล์ ถุงซิปล็อก จำนวนน้อย ฟรีค่าบล็อก และค่าเพลท เริ่มต้น 1 ชิ้น

——-
ช่องทางการติดต่อเรา All Print OK